Friday, September 9, 2022

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book นอสตราดามุส ทำนายสงครามโลกครั้งที่ 3


 

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book นอสตราดามุส ทำนายสงครามโลกครั้งที่ 3 

เมื่อเกิดสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 การสู้รบของทั้งสองฝ่ายมีลักษณะยืดเยื้อ ไม่ได้ยุติลงด้วยการพ่ายแพ้ของยูเครนภายใน 24 ชั่วโมงดังที่นักวิเคราะห์ทางการเมืองและทางการสงครามคาดการณ์เอาไว้

ส่วนวิวัฒนาการของสงครามจะเป็นไปในแบบไหนและจะยุติลงอย่างไรไม่มีใครสามารถคาดเดาได้อย่างหนักแน่นและอย่างแน่นอน

แต่เมื่อพิจารณาจากการเคลื่อนไหวทางการทูตของประเทศต่างๆ ทั้งในช่วงก่อนและในช่วงหลังเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครนนี้แล้ว ก็พอจะมองออกว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายไหนของความขัดแย้งนี้บ้าง

เราอาจจำแนกฝ่ายในสงครามได้ว่า ประเทศที่อยู่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ จีน เวเนซุเอลา อิหร่าน ชาติอาหรับ(มุสลิม) เกาหลีเหนือ อาจรวมถึงอินเดีย ซึ่งอาจเรียกรวมกันว่า “พันธมิตรฝ่ายตะวันออก”

ส่วนประเทศที่อยู่ฝ่ายยูเครน ได้แก่ กลุ่มประเทศนาโต้ (ประเทศต่างๆในยุโรป 30 ประเทศ) สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อิสราเอล เกาหลีไต้  ไต้หวัน ญี่ปุ่น ซึ่งอาจเรียกได้ว่า “พันธมิตรฝ่ายตะวันตก”

เมื่อเราลองนำคำทำนายของ นอสตราดามุส (Nostradamus) มาพิจารณาดู ก็จะมองเห็นได้ว่าปัจจุบันคู่สงคราม คือ รัสเซียและยูเครน มีการใช้อาวุธในแบบ (Conventional Weapons) ในการรบทางบก การรบทางเรือและการรบทางอากาศ) และต่อไปก็เป็นไปได้อย่างยิ่งที่จะมีการใช้อาวุธทำลายล้างสูง(Weapon of Mass Destruction = อาวุธนิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพและอาวุธเชื้อโรค) ด้วย

สื่อมวลชนของทางฝ่ายรัสเซียก็ได้กระพือข่าวว่า สงครามโลกครั้งที่ 3 เริ่มขึ้นแล้วรัสเซียไม่ได้สู้กับยูเครนแต่สู้กับนาโต ส่วนทางฝ่ายยูเครนก็บอกว่าวัตถุประสงค์ของรัสเซียจะไม่หยุดอยู่แค่ยูเครนแต่จะรุกรบไปยังดินแดนประเทศต่างๆ ที่เคยอยู่ภายใต้อาณัติของอดีตสหภาพโซเวียต รวมตลอดไปจนถึงดินแดนของประเทศต่าง ๆในนาโต้ทั้งหมดในยุโรปเลยทีเดียว และได้มีการพูดถึงอยู่บ่อยๆในสื่อมวลชนว่า รัสเซียได้ผลิตเครื่องบิน”วันสิ้นโลก” เพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติการเมื่อเกิดสงครามนิวเคลียร์

ในคำทำนายของนอสตราดามุสได้พูดถึงการที่คู่สงครามใช้อาวุธทั้งในแบบและอาวุธทำลายล้างสูงควบคู่กันไป และขอบเขตของสงครามจะไม่จำกัดอยู่ในทวีปยุโรปแต่ขยายออกไปทั่วทุกทวีปทั่วโลก

ผู้ถอดความจึงได้นำคำทำนายของนอสตราดามุสที่ได้ทำนายไว้นานแล้วมาเรียงลำดับและนำเสนอตามเหตุการณ์และพัฒนาการของโลกตามแนวของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการเมืองระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน"

=====================

สนใจดูรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ลิงก์นี้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book ชีวประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญของโลก

 


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book ชีวประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญของโลก

ชีวประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญของโลก ที่นำมาเสนอ มีทั้งสิ้น 53 คน เรียงตามลำดับตัวอักษรเช่น อัลเบิร์ต ไอไอน์สไตน์, อเล็กซานโดร โวลต้า,อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์, อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง,อัลเฟรด เบอนาร์ด โนเบล,อังเดร์ มารี แอมแปร์ ฯลฯ เป็นต้น

================

สนใจดูรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ลิงก์นี้


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book พระธรรมบทพร้อมพระคาถาและเรื่องเล่า

 


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book พระธรรมบทพร้อมพระคาถาและเรื่องเล่า

ธรรมบท แปลว่า บทธรรม หรือข้อธรรม เป็นชื่อหมวดธรรมคัมภีร์หนึ่ง ในขุททกนิกาย สุตตันตปิฎก ซึ่งท่านแบ่งออกเป็น 15 คัมภีร์ ธรรมบทเป็นคัมภีร์หนึ่ง นับเป็นลำดับที่ 2 ใน 15 คัมภีร์นั้น ธรรมบทเป็นพระพุทธพจน์ทั้งคัมภีร์ ประพันธ์เป็นสำนวนร้อยกรอง คือ เป็นคาถาล้วน เพราะมีสำนวนเป็นคาถาล้วนนี้เอง ในคัมภีร์สมันตปาสาทิกา อรรถกถาวินัยปิฎก ตอนพาหิรนิทาน  ท่านจัดเข้าในหมวดคาถา ซึ่งเป็นหมวดหนึ่งในสัตถุศาสน์ คือ คัมภีร์ที่ท่านแบ่งพระพุทธพจน์ออกเป็น 9 คาถา เป็นลำดับที่ 4 ในองค์ 9 นั้น ในขุททกนิกายที่อ้างข้างต้น ท่านแบ่งธรรมบทออกเป็น วรรค ได้ 26 วรรค มี ยมกวรรค เป็นต้น มี พราหมณวรรค เป็นที่สุด แต่ละวรรคมีจำนวนคาถาไม่เท่ากัน ในยมกวรรค มี 20 คาถา  เป็นต้น รวมทั้ง 26 วรรค มีคาถา 432 คาถา และในแต่ละวรรคมีเรื่องประกอบเพื่อความแจ่มแจ้งของพระพุทธพจน์นั้นๆ แต่ละวรรค เรื่องก็มีไม่เท่ากัน ในยมกวรรคมี 14 เรื่อง มีเรื่องพระจักขุบาลเถระ เป็นต้น ในอรรถกถาธรรมบท หรือ ธัมมปทัฏฐกถา ท่านใช้คำว่า จักขุปาลัตเถรวัตถุ แปลกันว่า นิทาน หรือเรื่องเล่าพระจักขุบาล หรือเรื่องพระจักขุบาล รวมทั้ง 26 วรรค มี 301 เรื่อง ข้อธรรมที่เรียกว่า “ธรรมบท” มีคาถาว่า

มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา      มโนเสฏฺฐา มโนมยา

มนสา เจ ปทุฏฺเฐน           ภาสติ วา กโรติ วา

ตโต นํ ทุกฺขมนฺเวติ            จกฺกํ ว วหโต ปทํ.

แปลตามคาถาว่า

“ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ

ถ้าคนเรามีใจชั่วเสียแล้ว

การพูด การกระทำก็พลอยชั่วไปด้วย

เพราะการพูดชั่วกระทำชั่วนั้น

ทุกข์ย่อมตามสนองเขา

เหมือนล้อเกวียนหมุนตามรอยเท้าโค.

เรื่องพระจักขุบาล เป็นตัวอย่างของอุกศลบทนี้ ท่านพระพุทธโฆษาจารย์เล่าว่า พระจักขุบาลองค์นี้เป็นหมอตา รักษาโรคตาให้หญิงคนหนึ่ง โดยที่หญิงคนนั้นให้สัญญาว่า ถ้ารักษาหายจะยอมเป็นทาสรับใช้ ท่านให้ยาหยอดตาเพียงครั้งเดียวโรคหาย หญิงนั้นคิดจะไม่ยอมตามตกลง จึงแกล้งบอกว่าไม่หาย ทำมายาจนหมอรู้ หมอโกรธเลยให้ยาหยอดตาบอดไปเลย ท่านพระจักขุบาลบวชแล้ว ทำความเพียรแรงกล้า ไม่ยอมนอนถึง 3 เดือน ตาก็บอด แต่ท่านบรรลุพระอรหัต เป็นพระอรหันต์ ประเภทสุกขวิปัสสกะ ไม่ได้ปฏิสัมภิทา ไม่แตกฉานในข้อธรรม ท่านเป็นตัวอย่างของพระอรหันต์ผู้ปฏิบัติลำบาก และได้บรรลุธรรมช้า

=================

สนใจดูรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ลิงก์นี้


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book วิธีเรียนบาลีแบบเร่งรัด




  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book วิธีเรียนบาลีแบบเร่งรัด  

"ผมมีความผูกพันอยู่กับภาษาบาลีเป็นเวลายาวนานอย่างเป็นทางการกว่า 13 ปี คือ ผมบวชเรียนได้ศึกษาภาษาบาลีในช่วงที่เป็นสามเณรเป็นเวลา 8 ปี เป็นพระอีก 5 ปี และในช่วงบวชเป็นพระแล้วก็ได้ทำหน้าที่สอนภาษาบาลีควบคู่ไปกับการเรียนภาษาบาลีอีกด้วย

เมื่อผมสึกหาลาเพศแล้ว แม้ว่าไม่ได้ใช้ความรู้ภาษาบาลีเพื่อเป็นใบเบิกทางในการรับราชการทหาร แต่ก็ไม่ได้ห่างเหินไปไหน ได้ทำการทบทวนภาษาบาลีอยู่เป็นครั้งคราวตลอดมา จนกระทั่งเมื่อออกจากราชการจากการเกษียณอายุ มาทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ในบางภาคการศึกษาผมก็ได้รับมอบหมายให้สอนวิชาภาษาบาลี ในรายวิชาชื่อ “ภาษาบาลีเพื่อการศึกษาค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา”

สำหรับบทเรียน #เรียนบาลีแบบเร่งรัด ที่นำมาเสนอนี้ เป็นวิธีการเรียนบาลีไวยากรณ์แบบใหม่ ซึ่งแตกต่างจากแต่เดิม ที่นักเรียนบาลีตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมสนามหลวง (แผนกบาลี) ต้องใช้เวลาเรียนและทำการท่องจำแบบเรียนบาลีไวยากรณ์และตามหลักสูตรต้องศึกษาตำราเรียนไวยากรณ์ประเภทสอบถามความจำและความเข้าใจ อันประกอบด้วย 1) นาม-อัพพยศัพท์ 2) อาขยาต 3) กิตก์ 4) สมาส 5) ตัทธิต 6) สมัญญาภิธาน และ 7) สนธิ

การเรียนจากตำราบาลีไวยากรณ์ดังกล่าวต้องใช้เวลาเรียนนานอย่างน้อยหนึ่งถึงสองปีกว่าจะได้เริ่มเรียนการแปลธรรมบทเพื่อสอบเปรียญ 1-2 และเปรียญ 3 อันส่งผลทำให้พระภิกษุและสามเณรหลายรูปเกิดความท้อถอยละความเพียรที่จะเล่าเรียนศึกษาภาษาบาลี

ปัจจุบันผมได้ติดตามการเรียนสอนภาษาบาลีที่ประเทศศรีลังกา พบว่า ครูอาจารย์ที่นั่นท่านใช้วิธีการสอนบาลีไวยากรณ์แบบเร่งรัดโดยการบูรณาการบาลีไวยากรณ์ในเรื่องต่าง ๆ มาใช้งานเพื่อความเข้าใจและการแปลภาษาบาลี ผมก็เลยลองนำมาศึกษาวิธีการเรียนแบบของประเทศศรีลังกามาใช้บ้าง

ดังนั้นบทเรียน #เรียนบาลีแบบเร่งรัด จึงเป็นวิธีการเรียนที่ไม่เยิ่นเย้ออย่างแบบเก่า แต่เป็นวิธีการที่นักศึกษาแม้แต่เริ่มเรียนแค่ชั่วโมงแรก ก็สามารถหัดอ่านและแปลภาษาบาลีได้แล้ว ดังที่ได้นำเสนอบทเรียนทางเฟซบุ๊กไปแล้ว 32 บท พร้อมกับมีแบบฝึกหัดทั้งแปลไทยเป็นมคธและแปลมคธเป็นไทย ให้นักศึกษาได้ทดลองทำ และสามารถนำไปเทียบเคียงกับคำเฉลยที่ผมได้จัดทำไว้ในทุกบทเรียนแล้วเช่นกัน"

======================

สนใจดูรายละเอียดและสั่ซื้อได้ที่ลิงก์นี้


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book นอสตราดามุส ภาคชีวประวัติ



หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book      นอสตราดามุส ภาคชีวประวัติ 

เมื่อสี่ร้อยกว่าปีมาแล้วประเทศฝรั่งเศส บุรุษผู้หนึ่งเข้าไปนั่งซุ่มศึกษาค้นคว้าตำรับตำราต้องห้ามทางไสยศาสตร์อยู่ตามลำพัง ในห้องที่มืดมิดในยามรัตติกาล ที่ข้างกายของบุรุษผู้นี้มีอ่างน้ำใบหนึ่งวางอยู่บนขาหยั่งทองเหลืองชนิดสามขา เขาเพ่งกระแสจิตอันทรงพลังไปที่น้ำในอ่าง จนกระทั่ง เกิดเป็นเปลวไฟและพวยพุ่งขึ้นมา และลึกลงไปใต้ผิวน้ำปรากฏเป็นภาพแจ่มชัดของเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะอุบัติขึ้นในโลก เช่น ภาพของสงครามโลก ครั้งที่ 1 ภาพของสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาพของอยาตอลล่าห์ โคไมนี วางแผนโค่นล้มอำนาจของพระเจ้าซาห์แห่งอิหร่าน ภาพของสงครามอันยึดเยื้อระหว่างอิรักกับอิหร่าน ภาพและฝ่ายพันธมิตรโดยการนำของสหรัฐทำสงครามขับไล่ทหารอิรักออกจากคูเวต ภาพอันน่าสะพรึงกลัวของสงครามโลกครั้งที่ 3 ซึ่งกำลังจะระเบิดในไม่ช้านี้ และภาพของการอวสานของโลกเรา ฯลฯ บุรุษผู้มีตาทิพย์สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างลึกลับมหัศจรรย์ มีชื่อจริงว่า มิเชล เดอ นอสเตรอดัม แต่ชาวโลกรู้จักเขาในอีกชื่อหนึ่งที่เป็นที่คุ้นหูว่า " นอสตราดามุส " เขามีประวัติที่มีความลี้ลับมหัศจรรย์ควรแก่การสนใจยิ่ง ซึ่งผู้อ่านจะได้สัมผัสในทุกแง่ทุกมุมขากหนังสือเล่มนี้

====================

สนใจดูรายละเอียดและสั่งซื้อได้จากลิงก์นี้


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book นอสตราดามุส ทำนายจุดอวสานของโลก




นอสตราดามุสทำนายจุดอวสานของโลก เป็นเรื่องราวของการแปลคำทำนายของนอสตราดามุสในเรื่องของสงครามโลกครั้งที่ 3 แล้วจึงทำการตีความ และวิเคราะห์คำทำนายดังกล่าวตามลำดับ

สรุปความคำทำนายของนอสตราดามุสได้ว่า จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 โดยผู้ก่อสงคราม คือ ประเทศในกลุ่มโลกอาหรับและจีนซึ่งจะเป็นพันธมิตรกันฝ่ายหนึ่ง กับสหรัฐอเมริกาและรัสเซียอีกฝ่ายหนึ่งจะร่วมมือกันปราบ

สงครามจะเกิดอยู่เป็นเวลายาวนาน ฝ่ายกลุ่มอาหรับและจีนจะชนะสงครามในช่วงระยะแรก แต่ในที่สุดฝ่ายที่จะชนะสงคราม คือ สหรัฐอเมริกาและรัสเซีย

เหตุการณ์ความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้นระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มหัวรุนแรงฮามาสในฉนวนกาซาอย่างในปัจจุบัน ได้ถูกมองว่าอาจเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามใหญ่และจะบานปลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 3

ท่านผู้อ่านที่เคารพ ก็ได้โปรดอ่านคำทำนายของนอสตราดามุสกันดูก็แล้วกัน อ่านกันมาก ๆ และช่วยกันแผ่เมตตาส่งกระแสจิตไปให้ทั้งสองฝ่ายในความขัดแย้งใด้ลดความแข็งกร้าวซึ่งก็อาจจะได้ทำให้โลกที่บอบช้ำอยู่แล้วเพราะการระบาดโควิด 19 ไม่ถูกซ้ำเติมให้ลำบากมากยิ่งขึ้นเพราะความพินาศย่อยยับของสงครามโลกครั้งที่ 3

================================


สนใจคลิกรายละเอียดและสั่งซื้อที่ลิงก์นี้:

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book เอกสารประกอบการสอนวิชาสารัตถะในพระไตรปิฏก


 

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book   เอกสารประกอบการสอนวิชาสารัตถะในพระไตรปิฏก 


GS ๔๔๐๐๕ สารัตถะในพระไตรปิฎก (Essence in Tipitaka) เป็นวิชาในหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในสังเขปรายวิชากำหนดไว้ว่า “ให้ศึกษาแนวคิดจากการบัญญัติสิกขาบท ความสำคัญแห่งสิกขาบทในพระวินัยปิฎก หลักปรัชญาสำคัญในพระสุตตันตปิฎก แนวทางปฏิบัติการดำรงตนเพื่อความสุขและความหลุดพ้น และหลักปรมัตถธรรมในพระอภิธรรมปิฎก”

ผู้สอนได้จัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอนของกระบวนวิชา สารัตถะในพระไตรปิฎก นี้ โดยครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้ คือ 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก 2. ความสำคัญของพระไตรปิฎก 3. วิวัฒนาการของพระไตรปิฎก 4. แนวคิดจากการบัญญัติสิกขาบท 5. แนวคิดจากการบัญญัติสิกขาบท(ต่อ) 6. ความสำคัญแห่งสิกขาบทในพระวินัยปิฎก 7. วิธีบัญญัติสิกขาบทของพระพุทธเจ้า 8. ความเป็นมา ความหมาย และความสำคัญของพระสุตตันตปิฎก 9. แนวคิดเรื่องกำเนิดรัฐตามที่ปรากฏอยู่ในอัคคัญญสูตร 10. หลักการปกครองเชิงพุทธสำหรับผู้ปกครองจากเตสกุณชาดก 11. การสร้างสุขภาวะทางสังคมโดยอาศัยหลักธรรมในพระไตรปิฎก 12. คุณธรรมของผู้นำในคำสอนของพระพุทธศาสนาตามที่ปรากฏในมหากปิชาดก 13. แนวทางปฏิบัติการดำรงตนเพื่อความสุขและความหลุดพ้น 14. หลักปรมัตถธรรมในพระอภิธรรมปิฎก

====================

สนใจดูรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ลิงก์นี้


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book เอกสารประกอบการสอน วิชาพระพุทธศาสนากับโลกาภิวัตน์



 

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book  เอกสารประกอบการสอน วิชาพระพุทธศาสนากับโลกาภิวัตน์ 

BU๕๐๑๕ วิชาพระพุทธศาสนากับโลกาภิวัตน์  (Buddhism and Globalization)) ในสังเขปรายวิชากำหนดไว้ว่า “วิเคราะห์บทบาทและสถานภาพของพระพุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน  บทบาทขององค์กร บุคลากร และนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา การตีความหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ปัญหาที่เกิดขึ้นในวงการพระพุทธศาสนา  และปัญหาภายนอกที่ผลกระทบต่อความเจริญและความเสื่อมของพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบกระแสโลกาภิวัตน์และธรรมานุวัตร พุทธวิทยาเพื่อการรู้เท่าทันกระแสและความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกภายใต้บริบทของข้อมูลข่าวสาร  ท่าทีและการปฏิบัติต่อข้อมูลข่าวสาร ในฐานะชาวพุทธ รวมทั้งป้องกันและแก้ไขข้อพกพร่องและผลเสียของกระแสโลกาภิวัตน์ตามหลักวิถีพุทธ”                                                                                                                                                                

ผู้สอนได้จัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอนของกระบวน วิชาพระพุทธศาสนากับโลกาภิวัตน์  โดยครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้ สัปดาห์ที่ 01 โลกก่อนโลกาภิวัตน์ มีสาระครอบคลุม 3 หัวข้อย่อย คือ 1) ความหมายของโลกาภิวัตน์ 2)โลกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และ3) โลกสมัยใหม่; สัปดาห์ที่ 02 โลกยุคโลกาภิวัตน์ (ต่อ) สาระครอบคลุม 3 ประเด็น คือ 1) สภาวการณ์โลกก่อนสงครามเย็น  2) สภาวะการณ์โลกหลังสงครามเย็น และ 3) สภาวการณ์โลกยุคโลกาภิวัตน์: สัปดาห์ที่ 03 โลกาภิวัตน์กับกระแสบริโภคนิยม ครอบคลุม 2 ประเด็น คือ 1) บริโภคนิยม และ 2 วัตถุนิยม: สัปดาห์ที่ 04 บทบาทและสภาพพระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ มีสาระครอบคลุม 3 ประเด็น คือ 1)พระพุทธศาสนาในอดีต 2) พระพุทธศาสนาในตะวันตก และ พระพุทธศาสนาในตะวันออก; สัปดาห์ที่ 05 บทบาทองค์กร บุคลากร และนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา  มีสาระครอบคลุม  3 หัวข้อดังนี้ คือ 1)บทบาทขององค์กร: ความสำคัญของวัดต่อสังคม 2) บทบาทของบุคลากรทางพระพุทธศาสนา: บทบาทของพระสงฆ์ และ 3) บทบาทของนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา :  พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) , สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)และ สุชีพ ปุญญานุภาพ; สัปดาห์ที่ 06 การตีความคำสอนพระพุทธศาสนา มีสาระครอบคลุม 3 ประเด็น คือ 1) แนวคิดและทฤษฎีการตีความทางพระพุทธศาสนา 2) การตีความคัมภีร์ครั้งพุทธกาลและหลังพุทธกาล และ 3. หลักการตีความตามปิฎกทั้ง 3 ; สัปดาห์ที่ 07 พระพุทธศาสนากับการแก้ไขปัญหาสังคมมีสาระครอบคลุม  3 ประเด็นใหญ่ คือ 1) ปัญหาภายในพระพุทธศาสนา 2) ปัญหาภายนอกพระพุทธศาสนา และ 3) พระพุทธศาสนากับการแก้ไขปัญหาทางสังคม; สัปดาห์ที่ 08 พระพุทธศาสนากับวัตถุนิยมในยุคโลการภิวัตน์ ครอบคลุม ทัศนะของพระอริยนันทมุนี (พุทธทาส อินฺทปญฺโญ) ในหนังสือ คู่มือมนุษย์ ฉบับปฏิบัติธรรม เฉพาะในเรื่องของวัตถุนิยม กล่าวคือ 1) นิยามของวัตถุนิยม 2) วัตถุนิยมไม่ใช่ของใหม่แต่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล 3) วัตถุนิยมในประเทศตะวันตก 4) จิตนิยม คือสิ่งตรงข้ามกับวัตถุนิยม และ 5) ลักษณะเฉพาะของวัตถุนิยม;  สัปดาห์ที่ 09 พระพุทธศาสนากับวัตถุนิยมในยุคโลกการภิวัตน์ (ต่อ) ครอบคลุมทัศนะของพระอริยนันทมุนี (พุทธทาส อินฺทปญฺโญ) ในหนังสือ คู่มือมนุษย์ ฉบับปฏิบัติธรรม ซึ่งมีขอบข่ายเฉพาะ เรื่องของวัตถุนิยมและพระพุทศาสนา ครอบคลุมทัศนะของพระอริยนันทมุนี (พุทธทาส อินฺทปญฺโญ) ในหนังสือ คู่มือมนุษย์ ฉบับปฏิบัติธรรม ในประเด็นเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับวัตถุนิยมและพระพุทธศาสนา ซึ่งครอบคลุมเรื่องต่างๆ ได้แก่  1) จุดตรงไหนที่เป็นตัววัตถุนิยม2).ลักษณะของบุคคลผู้ถือลัทธิวัตถุนิยม 3) อันตรายที่เกิดขึ้นจากวัตถุนิยม 4) พระพุทธศาสนาเป็นอะไรกันแน่; สัปดาห์ที่ 10 พุทธวิทยาเพื่อการเรียนรู้ มีสาระครอบคลุม 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1) ความหมายของพุทธวิทยา 2)วิธีการบูรณาการพุทธวิทยา และ 3) ข้อมูลข่าวสาร; สัปดาห์ที่ 11 เปรียบเทียบกระแสโลกาภิวัตน์กับธรรมานุวัตร ในประเด็นที่ 1) ว่าด้วยบริโภคนิยมกับการพิจารณาปัจจัย 4 มีสาระครอบคลุม ความหมายของบริโภคนิยม 2) ความหมายของธรรมานุวัตร และ 3) ข้อแตกต่างระหว่างบริโภคนิยมกับการใช้ปัจจัย 4  ในพระพุทธศาสนา; สัปดาห์ที่ 12 เปรียบเทียบกระแสโลกาภิวัตน์กับธรรมานุวัตร (ต่อ) เปรียบเทียบกระแสโลกาภิวัตน์กับธรรมานุวัตร (ต่อ) ความเคลื่อนไหวของพระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ ครอบคลุม การเปลี่ยนแปลงทางพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นหลังจากเกิดกระแสลาภิวัตน์; สัปดาห์ที่ 13 พระพุทธศาสนากับหลักเสรีภาพในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ครอบคลุม1)ความหมายของสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล 2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ 3)การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว 4) พระพุทธศาสนากับหลักสิทธิเสรีภาพ; สัปดาห์ที่ 14 พระพุทธศาสนากับความเสมอภาคทางสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ ครอบคลุมสาระสำคัญ คือ 1) ความหมาย 2) แนวคิดของความเสมอภาค 3)ความเสมอภาคในหลักคำสอนและหลักปฏิบัติของพระพุทธศาสนา; สัปดาห์ที่ 15 พระพุทธศาสนากับความมั่นคงของครอบครัวในยุคโลกาภิวัตน์ ครอบคลุม 1) ความหมายของการหย่าร้าง 2) สาเหตุของการหย่าร้าง 3) ลักษณะของการหย่าร้าง 4)พระพุทธศาสนากับการเสริมสร้างความมั่นแก่สถาบันครอบครัว

===========================

สนใจดูรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ลิงก์นี้


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book คู่มืออุภัยพากยปริวัตน์ หัดแปลภาษาบาลี

 



หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book      คู่มืออุภัยพากยปริวัตน์ หัดแปลภาษาบาลี 


ตัวอย่าง

๑.วิธีเรียงความภาษามคธ

ให้นักศึกษาภาษาบาลีทราบเป็นเบื้องต้นไว้ว่า วิธีเรียงความในภาษามคธ (ภาษาบาลี) ไม่เหมือนเรียงความในภาษาไทย จะใช้กลับกันเสมอ เช่น คำภาษาไทยว่า สาวก ของพระพุทธเจ้า คำมคธ (ภาษาบาลี) ต้องเรียงกลับกันว่า ของพระพุทธเจ้า สาวก

ประโยคเหล่านี้นักศึกษาจงแปลมคธเป็นไทย

ข้อ ๑ - ข้อ ๓๐

๑.พุทฺธสฺส สาวโก.

คำแปล สาวโก อันว่าพระสาวก พุทฺธสฺส ของพระพุทธเจ้า.

คำอธิบาย สาวโก เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน พุทฺธสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง.

๒. ธมฺเม ปสาโท.

คำแปล ปสาโท อันว่าความเลื่อมใส ธมฺเม ในธรรม.

คำอธิบาย ปสาโท เป็น อการันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลก่อน ธมฺเม ลงในสัตตมีวิภัตติ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง.

๓. สาวกานํ สงฺโฆ.

คำแปล สงฺโฆ อันว่าหมู่ สาวกานํ แห่งสาวกทั้งหลาย.

คำอธิบาย สงฺโฆ เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน สาวกานํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง.

๔. อาจริยสฺส สิสฺสา.

คำแปล สิสฺสา อันว่าศิษย์ทั้งหลาย อาจริยสฺส ของอาจารย์.

คำอธิบาย สิสฺสา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า...ทั้งหลาย อาจริยสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง.

๕. คาเม อาวาโส.

คำแปล อาวาโส อันว่าอาวาส คาเม ใกล้บ้าน.

คำอธิบาย อาวาโส เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน คาเม ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน หรือ ใกล้ แปลเป็นอันดับสอง.

๖. คาเมสุ ทารกา.

คำแปล ทารกา อันว่า เด็กทั้งหลาย คาเมสุ ในบ้านทั้งหลาย.

คำอธิบาย ทารกา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า...ทั้งหลาย แปลก่อน คาเมสุ ลงในสัตตมีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า ใน...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง.

๗. อาจริมฺหิ คารโว.

คำแปล คารโว อันว่าความเคารพ อาจริยมฺหิ ในอาจารย์.

คำอธิบาย คารโว เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน อาจริยมฺหิ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง.

๘. สงฺฆสฺส วิหาโร.

คำแปล วิหาโร อันว่าวิหาร สงฺฆสฺส ของสงฆ์.

คำอธิบาย วิหาโร เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน สงฺฆสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลเป็นอันดับสอง.

๙.อุปชฺฌายสฺส ปตฺโต.

คำแปล ปตฺโต อันว่าบาตร อุปชฺฌายสฺส ของพระอุปัชฌาย์.

คำอธิบาย ปุตฺโต เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน อุปชฺฌายสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง.

๑๐. ขตฺติยานํ กุมารา.

คำแปล กุมารา อันว่ากุมารทั้งหลาย ขตฺติยานํ ของกษัตริย์ทั้งหลาย.

คำอธิบาย กุมารา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า...ทั้งหลาย แปลก่อน ขตฺติยานํ ลงฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง. 

๑๑. อคฺคิโน ขนฺโธ.

คำแปล ขนฺโธ อันว่ากอง อคฺคิโน แห่งไฟ.

คำอธิบาย ขนฺโธ เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน อคฺคิโน ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง.

๑๒. อิสีสํ อสฺสโม.

คำแปล อสฺสโม อันว่า อาศรม อิสีนํ ของฤษีทั้งหลาย.

คำอธิบาย อสฺสโม เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน อิสีนํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง.

๑๓. อริมฺหา อุตราโส.

คำแปล อุตราโส อันว่าความสะดุ้ง อริมฺหา แต่ข้าศึก.

ตำอธิบาย อุตราโส เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน อริมฺหา ลงในปัญจมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แต่ หรือ จาก แปลเป็นอันดับสอง.

๑๔. รุกฺขสฺส สุสิเร อหิ.

คำแปล อหิ อันว่างู สุริเร ในโพรง รุกฺขสฺส ของตนไม้.

คำอธิบาย อหิ เป็น อิ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน สุริเร ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง รุกฺขสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับที่สาม

๑๕. โกฏฺเฐ วีหโย.

คำแปล วีหโย อันว่าข้าวเปลือกทั้งหลาย โกฏฺเฐ ในฉาง.

คำอธิบาย วีหิโย เป็น อิ การันต์ อิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน โกฏฺเฐ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง.

๑๖. กริโน ทนฺตา.

คำแปล ทนฺตา อันว่างาทั้งหลาย กริโน แห่งช้าง.

คำอธิบาย ทนฺตา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า ...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับแรก กริโน ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง.

๑๗. มนฺตีนํ สมาคโม.

คำแปล สมาคโม อันว่า สมาคม มนฺตีนํ แห่งคนมีความคิดทั้งหลาย.

คำอธิบาย สมาคโม เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน มนฺตีนํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง.

๑๘. รุกเข สิขี.

คำแปล สิขี อันว่านกยูง รุกฺเข บนต้นไม้.

คำอธิบาย สิขี เป็น อี การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน รุกฺเข ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง.

๑๙. ทณฺฑิสฺส หตฺเถ ทณฺโฑ.

คำแปล ทณฺโฑ อันว่า ไม้เท้า หตฺเถ ในมือ ทณฺฑิสฺส ของคนมีไม้เท้า.

คำอธิบาย ทณฺโฑ เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน หตฺเถ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง ทณฺฑิสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสาม.

๒๐. เสฏฺฐิมฺหิ วิสฺสาโส.

คำแปล วิสฺสาโส อันว่าความคุ้นเคย เสฏฺฐิมฺหิ ในเศรษฐี.

คำอธิบาย วิสฺสาโส เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน เสฏฺฐิมฺหิ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง.

๒๑. วเช ปสโว.

คำแปล ปสโว อันว่า สัตว์ของเลี้ยงทั้งหลาย วเช ในคอก.

คำอธิบาย ปสโว เป็น อุ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับแรก วเช ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง.

๒๒. ปพฺพตสฺส สิขเร เกตุ.

คำแปล เกตุ อันว่าธง สิขเร บนยอด ปพฺพตสฺส ของภูเขา.

คำอธิบาย เกตุ เป็น อุ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลเป็นอันดับแรก สิขเร ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับสอง ปพฺพตสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสาม.

๒๓. เสตุมหิ รโถ.

คำแปล รโถ อันว่ารถ เสตุมฺหิ บนสะพาน.

คำอธิบาย รโถ เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน เสตุมฺหิ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า บน หรือ ใน แปลเป็นอันดับสาม.

๒๔. ครุโน ปุตฺตา.

คำแปล ปุตฺตา อันว่าบุตรทั้งหลาย ครุโน ของครู.

คำอธิบาย ปุตฺตา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับแรก ครุโน ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง.

๒๕. กุมารานํ ครโว.

คำแปล ครโว อันว่าครูทั้งหลาย กุมารานํ ของกุมารทั้งหลาย.

คำอธิบาย ครโว เป็น อุ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลเป็นอันดับแรก กุมารานํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง...ทั้งหลาย แปลเป็นอันสอง.

๒๖. วิญฺญูนํ โอวาโท.

คำแปล โอวาโท อันว่าโอวาท วิญฺญูนํ ของผู้รู้วิเศษทั้งหลาย.

คำอธิบาย โอวาโท เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลเป็นอันดับแรก วิญญูนํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง.

๒๗. โลเก สยมฺภู.

คำแปล สยมฺภู อันว่าพระผู้เป็นเอง โลเก ในโลก.

คำอธิบาย สยมฺภู เป็น อู การันต์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลเป็นอันดับแรก โลเก ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน แปลเป็นอันดับที่สอง.

๒๘. สยฺภุโน ธมฺโม.

คำแปล ธมฺโม อันว่าธรรม สยมฺภุโน ของพระผู้เป็นเอง.

คำอธิบาย ธมฺโม เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลเป็นอันดับแรก สยมฺภุโน ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า แห่ง หรือ ของ แปลเป็นอันดับสอง.

๒๙. เวทานํ ปารคุโน.

คำแปล ปารคุโน อันว่าบุคคลผู้ถึงฝั่งโดยปกติทั้งหลาย เวทานํ แห่งพระเวททั้งหลาย.

คำอธิบาย ปารคุโน เป็น อุ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า อันว่า...ทั้งหลาย เวทานํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า แห่ง...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับสอง.

๓๐. วิญฺญูหิ อุปสํเสโว.

คำแปล อุปสํเสโว อันว่าความเข้าไปส้องเสพ วิญฺญูหิ ด้วยผู้รู้วิเศษทั้งหลาย.

คำอธิบาย อุปสํเสโว เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า อันว่า แปลก่อน วิญญูหิ ลงในตติยาวิภัตติ พหุวจนะ แปลว่า ด้วย...ทั้งหลาย แปลเป็นอันดับที่สอง.

แปลไทยเป็นมคธ

ข้อ ๓๑ – ข้อ ๕๐

๓๑.ความเชื่อ ในพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

คำแปล พุทฺเธ สทฺธา.

คำอธิบาย สทฺธา เป็น อา การันต์ อิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง พุทฺเธ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลว่า ใน เรียงไว้ข้างหน้า.

๓๒.ผล ของพระธรรม.

คำแปล ธมฺมสฺสฺ วิปาโก.

คำอธิบาย วิปาโก เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เรียงไว้ข้างหลัง ธมฺมสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหน้า.

๓๓. กุฏิทั้งหลาย ของสงฆ์.

คำแปล สงฆสฺส กุฏิโย.

คำอธิบาย กุฏิโย เป็น อิ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง สงฺฆสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหน้า.

๓๔.อาจารย์ ของศิษย์ทั้งหลาย.

คำแปล สิสฺสานํ อาจริโย.

คำอธิบาย อาจริโย เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้หลัง สิสฺสานํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ เรียงไว้ด้านหน้า.

๓๕.บ้านทั้งหลาย ในเมือง.

คำแปล นคเร คามา.

คำอธิบาย คามา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง นคเร ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหน้า.

๓๖.เด็กทั้งหลาย ในวัด

คำแปล อาวาเส ทารกา.

คำอธิบาย ทารกา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ เรียวไว้ข้างหลัง อาวาเส ลงในสัตตมีวิภัตติ พหุวจนะ เรียงไว้ข้างหน้า.

๓๗. หมู่ แห่งหญิงทั้งหลาย.

คำแปล อิตฺถีนํ คโณ.

คำอธิบาย คโณ เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง อิตฺถีนํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ เรียงไว้ข้างหน้า.

๓๘. ต้นไม้ทั้งหลาย บนภูเขา.

คำแปล ปพฺพเต รุกฺขา.

คำอธิบาย รุกฺขา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง ปพฺพเต ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหน้า.

๓๙.วิหาร แห่งอุปัชฌาย์.

คำแปล อุปชฺฌายสฺส วิหาโร.

คำอธิบาย วิหาโร เป็น อ การันต์ ในปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง อุปชฺฌายสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหน้า.

๔๐.เมือง แห่งกษัตริย์.

คำแปล ขตฺติยสฺส นครํ.

คำอธิบาย นครํ เป็น อ การันต์ นปุงสกลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง ขตฺติยสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหน้า.

๔๑.เปลว แห่งไฟ.

คำแปล อคฺคิโน อจฺจิ.

คำอธิบาย อจฺจิ เป็น อิ การันต์ นปุงสกลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง อคฺคิโน ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหน้า.

๔๒.กิ่งทั้งหลาย แห่งต้นไม้.

คำแปล รุกฺขสฺส สาขา.

คำอธิบาย สาขา เป็น อา การันต์ อิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง รุกฺขสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหน้า.

๔๓.ข้าวสุก ในหม้อข้าว.

คำแปล อุกฺขลิยํ โอทโน.

คำอธิบาย โอทโน เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง อุกขลิยํ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหน้า.

๔๔.เชือก ในคอ แห่งหมา.

คำแปล สุนขสฺส คีวายํ รชฺชุ.

คำอธิบาย รชฺชุ เป็น อุการันต์ อิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง คีวายํ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ตรงกลาง สุนขสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหน้าสุด.

๔๕. จุก ในหัว แห่งเด็ก.

คำแปล ทารกสฺส สีเส จุฬา.

คำอธิบาย จุฬา เป็น อา การันต์ อิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้หลังสุด สีเส ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้กลาง ทารกสฺส ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้หน้าสุด.

๔๖.กอง แห่งข้าวเปลือกทั้งหลาย.

คำแปล วิหีนํ ราสิ.

คำอธิบาย ราสิ เป็น อิ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างท้าย วิหีนํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ เรียงไว้ข้างหน้า.

๔๗.หมู่ แห่งปลาทั้งหลาย ในสระ

คำแปล สเร มจฺฉานํ คโณ.

คำอธิบาย คโณ เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง มจฺฉานํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ เรียงไว้ตรงกลาง สเร ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหน้า.

๔๘.รถทั้งหลาย ในถนน.

คำแปล วีถิยํ รถา.

คำอธิบาย รถา เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ พหุวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง วีถิยํ ลงในสัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหน้า.

๔๙.เสา แห่งสะพาน.

คำแปล เสตุโน ถมฺโภ.

คำอธิบาย ถมฺโภ เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง เสตุโน ลงในฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหน้า.

๕๐.คอก แห่งสัตว์ของเลี้ยงทั้งหลาย.

คำแปล ปสูนํ วโช.

คำอธิบาย วโช เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ เรียงไว้ข้างหลัง ปสูนํ ลงในฉัฏฐีวิภัตติ พหุวจนะ เรียงไว้ข้างหน้า.

=======================

สนใจดูรายละเอียดและสั่งซื้อที่นี่


Google

Popular Posts